วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

บทที่1-2 วิชาการเงินส่วนบุคคล


วิชาการเงินส่วนบุคล
************************************************

หน่วยที่ 1
ความรู้เกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคล
1.ความหมายของเงิน
2.หน้าที่ของเงิน
3.ธรรมชาติของเงิน
4.พัฒนาการของเงิน

5.บทบาทของเงิน
หน่วยที่ 1
ความรู้เกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลเงิน คือสิ่งที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในการชำระสินค้าหรือการปลดเปลื้องพันธะทางธุรกิจ ( โรเบิร์ตสัน )
เงิน เป็นเครื่องมือซึ่งทุกคนเห็นชอบร่วมกันว่าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าชนิดหนึ่งกับสินค้าชนิดอื่น ( ฮูม )
เงิน คือสิ่งที่สังคมยอมรับเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการรวมถึงใช้ในการชำระหนี้ในปัจจุบันและอนาคตหน้าที่ของเงิน

1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2. เป็นเครื่องวัดมูลค่า
3. เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ในอนาคต
4. เป็นเครื่องมือรักษามูลค่า
5. เป็นสิ่งชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
6. เป็นเครื่องมือในการโอนย้ายมูลค่า
ธรรมชาติของเงิน
เงินเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการเงินที่ได้มาง่าย ก็เสียไปง่าย
-เงินรางวัล
-โบนัส -มรดก
-กำไรพิเศษ กำไรจากการขายที่ดิน
- กำไรจากหุ้น
-เงินที่ได้มาฟรีๆถ้ามีเงินถึงจุดหนึ่งคนจะเริ่มอยากรวย
- การเก็บออมพัฒนาการของเงิน 4 ระยะ
1. เงินเป็นสิ่งของหรือสินค้า (ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของ ) ได้แก่ เครื่องประดับ ลูกปัด กระดูกสัตว์ ใบชาผ้าขนสัตว์ หนังสัตว์ หินสีต่างๆ
2. เงินกษาปณ์ มีการประดิษฐ์เงินที่ทำด้วยโลหะต่างๆที่มีคำและชั่งน้ำหนักของโลหะให้มีค่าเทียบเท่ากับเงิน เช่น ทองคำ โลหะเงิน มีการนำโลหะมาหลอมให้มีรูปแบบต่างๆ เพื่อความสะดวกในการแลกเปลี่ยนจีนหลอมเหรียญบรอนซ์รูปจอบโรมันและกรีกผลิตเงินกษาปณ์ที่มีรูปร่างกลม แบนใช้เป็นครั้งแรกก่อนคริสต์ศักราช 300-600 ปีและเป็นแบบมาตรฐานจนถึงปัจจุบันพัฒนาการของเงิน
3. เงินกระดาษ มีวิวัฒนาการครั้งแรกใน รูปของใบสัญญาจากการรับฝากทองคำและสมบัติกับรัฐบาลประเทศอังกฤษในสมัยราชวงศ์สจ็วต ต่อมาใช้ใบสัญญาซึ่งเรียกว่าใบรับฝากโลหะของช่างทองและพ่อค้าซึ่งสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ ใบรับฝากโลหะ มีชื่อเรียกว่า บัตรธนาคาร ( Bank Notes ) หรือเงินกระดาษ ช่างทองและพ่อค้ามีการดำเนินธุรกิจเป็นนายธนาคารวิชาการเงินส่วนบุคคล
4. เงินเครดิต หมายถึง สิ่งที่มีมูลค่าใกล้เคียงกับเงินสดเช่นเงินฝากธนาคาร เช็คซึ่งทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินโดยประหยัดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ธนบัตร เงินเครดิตที่ใช้เป็นสื่อกลางสำหรับการแลกเปลี่ยน แบ่งได้ 2 ชนิด
1. เงินเครดิตทำด้วยโลหะ
2. เงินเครดิตทำด้วยกระดาษบทบาทของเงิน-ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว- เป็นเครื่องมือจัดสรรทรัพยากรและกระจายเงินทุนไปยังหน่วยเศรษฐกิจ - เป็นเครื่องมือในการสะสมความมั่งคั่งทำให้เกิดการกระจายรายได้ของประชาชน
ความสำคัญของเงินที่มีต่อบุคคล
1. ด้านการแลกเปลี่ยนและการอุปโภคบริโภค = เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
2. ด้านความเจริญทางเศรษฐกิจของตน = การเพิ่มขึ้นของรายได้
3. ด้านการออม = การเก็บเงินจากส่วนที่เหลือใช้จ่ายจากรายได้ของตน
4. ด้านการตัดสินใจลงทุน = เกิดผลตอบแทนคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายออกไป
5. ด้านการวางแผนทางการเงิน = การออมเงินและการลงทุน



หน่วยที่2

***************************************************
การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล
1.ความหมายของการวางแผนทางการเงิน
2.ประโยชน์ของการวางแผนทางการเงิน
3.ปัจจัยในการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล
4.การจัดทำงบประมาณการเงิน
5.หลักเกณฑ์การจัดทำงบประมาณการเงิน
6.ประโยชน์ของงบประมาณการเงิน
7.การจัดทำแผนการใช้จ่าย

การวางแผนทางการเงิน

- การเตรียมการในการใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมกับรายได้
การวางแผนทางการเงิน
-การบริหารการเงินส่วนบุคคล
-เป็นการจัดระเบียบทางการเงินด้วยการหารายได้และใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางการเงิน
ประโยชน์ของการวางแผนทางการเงิน
1.ทำให้มีความรอบคอบในการใช้เงิน
2.ทำให้รู้จักใช้เงิน
3.เกิดการบริหารทางการเงิน
4.ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
5.มีหลักเกณฑ์ในการใช้จ่ายเงิน
6.ทำให้ระบบเศรษฐกิจมั่นคง

ปัจจัยในการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล
1. การหารายได้-รายรับที่ได้มาจากการประกอบอาชีพ/การทำกิจกรรมต่างๆ
2. การใช้จ่ายหรือรายจ่าย-ค่าใช้จ่ายที่ถูกจ่ายออกไป
3. การแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน -ผลตอบแทนที่เกิดจากสิทธิครอบครองทรัพย์
4. การออม-รายได้ – รายจ่ายการจัดทำงบประมาณ
การเงินงบประมาณ หมายถึง การประมาณการรายได้และการประมาณการใช้เงินโดยการคาดคะเนเป็นตัวเลข ( การจัดระเบียบข้อมูลทางการเงิน )

วัตถุประสงค์
*เพื่อควบคุมการใช้จ่ายให้เหมาะสมสอดคล้องกับรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ
*ใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การใช้จ่ายอยู่ภายในขอบเขตของรายได้และสามารถจัดสรรเพื่อการออมได้เหมาะสมระยะเวลาจัดทำงบประมาณการเงินรายสัปดาห์ รายเดือน รายปี / นิยมจัดทำในระยะสั้นๆ

หลักเกณฑ์การจัดทำงบประมาณ
v งบประมาณการเงินควรทำเป็นแบบง่ายในการประมาณการตัวเลข
v ต้องถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและบุคคลในครอบครัว
v การประมาณการตัวเลขการใช้จ่ายต้องเหมาะกับรายได้และการครองชีพ
v ควรมีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ตามเศรษฐกิจขั้นการจัดทำงบประมาณการเงินการประมาณการรายรับ -รายรับประจำรายรับอื่นๆที่ไม่มีความแน่นอนการประมาณรายจ่าย -ค่าใช้จ่ายประจำ-ค่าใช้จ่ายผันแปรการสรุปงบประมาณ -ประมาณการรายรับ – ประมาณการรายจ่าย

ประโยชน์ของการทำงบประมาณการเงิน
1. ช่วยให้มีการใช้จ่ายภายใต้รายรับที่มีอยู่
2. ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
3. ช่วยจัดลำดับการใช้จ่ายเงิน
4. นำมาใช้เปรียบเทียบกับรายรับและรายจ่ายจริง
การจัดทำแผนการใช้จ่ายเงิน
กำหนดรายจ่ายด้วยตัวเลขอย่างมีเหตุผล
กำหนดแผนรายจ่ายตามสภาพความเป็นจริงคำนึงถึงราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นในการกำหนดรายจ่ายกำหนดเงินคงเหลือไว้ในแผนการใช้จ่าย
วิธีจัดทำแผนการใช้จ่ายเงิน
ใช้หลักเกณฑ์ตามขั้นตอนของการทำงบประมาณแต่แสดงข้อมูลยอดเงินคงเหลือ


ตัวอย่าง
เปรียบเทียบการจัดทำงบ
ประมาณการเงินกับแผนการใช้จ่ายเงิน
งบประมาณการเงินสำหรับระยะเวลา 1 เดือน
ประมาณการรายรับบาท
เงินเดือนสุทธิ...........................................23,000
ค่าล่วงเวลา................................................5,000
................................................................28,000
ประมาณการรายจ่าย
รายจ่ายประจำ
ค่าเบี้ยประกันชีวิต........................6,000
รายจ่ายผันแปร
ค่าอาหาร.....................................8,000
ค่าพาหนะ....................................2,000
ค่าเสื้อผ้า.....................................3,000
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ...............................1,000...14,000รวม...........................................................20,000
รายรับสูงกว่ารายจ่าย...................................8,000
................................................................28,000
ตัวอย่าง
เปรียบเทียบการจัดทำ
งบประมาณการเงินกับแผนการใช้จ่าย
แผนการใช้จ่ายเงิน
สำหรับระยะเวลา 1 เดือน
รายได้ บาท
เงินเดือน........................................23,000
รายได้อื่นๆ.......................................5,000 ..28,000
รายจ่ายค่า
เบี้ยประกันชีวิต..................................6,000
ค่าอาหาร..........................................8,000
ค่าพาหนะ.........................................2,000
ค่าเสื้อผ้า..........................................3,000
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ....................................1,000..20,000
ยอดเงินคงเหลือ.............................................8,000